หน้าแรก » บทความ

โรงกลึงชิ้นส่วนอะไหล่ ทองเหลือง สแตนเลส อลูมิเนียม และเหล็กตามแบบ

ทำไหมต้องกลึงงานด้วย เครื่องกลึง CNC

ทำความรู้จัก เครื่องกลึง CNC 

เครื่องกลึง CNC (Computer Numerical Control) คือเครื่องจักรกลอัตโนมัติที่ทำงานได้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการผลิตชิ้นส่วนวัสดุให้ได้ขนาดและรูปทรงตามที่ต้องการด้วยการกลึง เหมาะสำหรับงานกลึงที่ต้องการความละเอียดหรือมีความซับซ้อนสูง

ยิ่งไปกว่านั้น เพราะการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องกลึง CNC สามารถก้าวข้ามขีดจำกัดของเครื่องจักรแบบเดิมๆ ได้ ทั้งความละเอียดในการควบคุมที่ละเอียดถึง 0.001 mm. รวมถึงสามารถควบคุมเครื่องกลึงได้หลายเครื่องในคราวเดียว ทำให้นอกจากความละเอียดแล้ว เรายังสามารถได้ชิ้นงานหลายชิ้นด้วยความรวดเร็วอีกด้วย

 

อุตสาหกรรมอะไรบ้าง? ที่ใช้งาน เครื่องกลึง CNC

     ด้วยข้อดีที่เป็นจุดเด่นของเครื่องกลึงชนิดนี้ ที่มีความแม่นยำ มีความละเอียดสูง และสามารถผลิตได้ทีละครั้งมากๆ อีกทั้งยังสามารถทำงานได้กับวัสดุหลากหลาย เช่น

สเตนเลส เหล็ก พลาสติก อลูมิเนียม หรือไทเทเนียม รวมถึงการ ปั๊มขึ้นรูปโลหะ ปั๊มเหล็ก ปั๊มโลหะ ชิ้นส่วนโลหะ ฯลฯ จึงเป็นที่นิยมของอุตสาหกรรมได้หลากหลายประเภท เช่น

  • งานอุตสาหกรรมเครื่องยนต์ เช่น ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน, ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
  • งานอุตสาหกรรมการแพทย์ เช่น การผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ
  • งานอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น ผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรการเกษตร
  • งานอุตสาหกรรมพลาสติก เช่น งานพิมพ์ขึ้นรูปพลาสติกต่างๆ งานเฟอร์นิเจอร์ หรืองานอุตสาหกรรมรองเท้า เป็นต้น
  • งานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือผลิตชิ้นส่วนจำนวนมาก
  • อุตสาหกรรมหล่อหรือพิมพ์พระ และงานออกแบบโมเดลหรือเครื่องแกะสลักต่างๆ

งานกลึง และอะไหล่จากงานกลึง เลือกอย่างไรให้คุ้มค่า

อุตสาหกรรมการกลึง เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมต้นน้ำที่สนับสนุนการผลิตให้กับกิจการเกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม หรือแม้แต่ภาคบริการต่างๆ และยังเชื่อมโยงกับสาขาการผลิตอื่นที่หลากหลาย

งานกลึง คืออะไร

งานกลึงเป็นกระบวนการผลิตอะไหล่ต่างๆ ที่ต้องการให้เปลี่ยนรูปร่างไปตามความต้องการ โดยใช้รูปแบบการ กัด เซาะ ไส กลึง ปาด ปลอก หรือปรับรูปแบบเฉพาะเจาะจงให้เหมาะกับงานนั้นๆ เพื่อนำมาต่อยอดผลิตสินค้า และเครื่องจักรอื่นอีกมากมาย

งานกลึงใช้เครื่องจักร ที่แบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามลักษณะของการทำงาน คือ.........